ขายคีย์บอร์ดรุ่นท๊อปยุคเก๋า Yamaha SY99 สภาพใหม่

หน้าแรก » เครื่องดนตรี » เปียโน คีย์บอร์ด

ขายคีย์บอร์ดรุ่นท๊อปยุคเก๋า Yamaha SY99 สภาพใหม่


ขายคีย์บอร์ดรุ่นท๊อปยุคเก๋า Yamaha SY99 สภาพใหม่  ราคา 20,000 บาท   เปลี่ยนจอใหม่ มองเห็นชัดเจนทุกสภาพแสง และปุ่มกดทุกปุ่ม กดง่าย ชื้อไปแล้วใช้งานได้เลยครับไม่ต้องหาที่ซ่อมให้เสียเวลา และเสียเพื่มอีกครับ เสียงดีมากๆครับ เสียงเปียโนเป็นเอกลักษณ์ เหมาะสำหรับเล่นเพลงแกรมมี่ยุค 80-90 เสียงเปียโนไฟฟ้า เสียง String และเสียง จำพวก Pad Lead  หลายๆเสียงยังดีกว่า Syn ในยุคปัจจุบัน เป็นคีย์บอดคู่หูของมือคีย์บอด casiopea,toto และอีกหลายคน เหมาะมากกับมือคีย์บอดแนว Fusion Jazz,Rock,Progressive Rock  ปัจจุบันในเมืองไทยมีไม่กี่ตัว เพราะตอนออกใหม่ราคาหลักแสนครับ บทความจาก soundchef ถึงแม้มันจะผ่านมาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ผมกลับจำได้อย่างแม่นยำ เหมือนเรื่องราวต่อไปนี้พึ่งเกิดขึ้นเมื่อวานซืน... มันเป็นปี 1991 ตอนนั้นผมพึ่งอายุ 9 ขวบ ก่อนหน้านั้นผมไม่เคยอยากได้ซินธ์ตัวไหนเลย ยกเว้น Yamaha DX7 ที่เป็นความไฝ่ฝันของผมมาโดยตลอด แต่เด็กที่ไหนจะมีปัญญาซื้อซินธ์ตัวละสี่หมื่นกว่าบาทล่ะ (และผมก็ไม่เคยได้มัน จนกระทั่งเมื่อไม่กีปี่แล้วมานี่เองครับ) ผมจำได้ว่าหลังจากที่ DX7 ออกมาและดังเป็นพลุแตกนั้น ก็มีซินธ์จากทั้ง Korg และ Roland ออกมาแข่งด้วย ซึ่งทั้งสองตัวนั้นก็กลายเป็นตำนานทั้งคู่ นั่นก็คือ Roland D50 ที่ออกมาในปี 1987 (เป็น L.A.Synthesis) และ Korg M1 ที่ออกมาในปี 1988 (เป็น Music Workstation เครื่องแรกของโลก และเป็น synth ที่ขายดีที่สุดในโลกจนถึงทุกวันนี้) ถึงกระนั้น ผมก็ไม่เคยสนใจสองตัวนี้เลย ยังคงฝันถึงแต่ DX7 เรื่อยไป จนกระทั่งประมาณกลางๆปี 1991 ผมก็มีโอกาสได้เห็นและได้ฟัง synth รุ่นใหม่ล่าสุดและดีที่สุดของ Yamaha ในนาทีนั้น นั่นก็คือเจ้า SY99... ผมร้อง “โอ้โห” ออกมาด้วยความประหลาดใจหลังจากที่ได้ยินเสียงที่ออกมาจากมัน ตอนนั้นผมนึกไม่ออกจริงๆว่าเสียงทั้งจำพวกอคูสติกและ synth ทั้งหลาย จะทำให้ดีกว่า SY99 ได้อย่างไร เพราะสิ่งที่ผมพึ่งได้ยิน มันคือที่สุดของซินธ์ ที่สุดของแจ้แล้ว ความอยากจึงบังเกิดในบัดดล โชคไม่ดีที่มันเป็นอีกหนึ่งครั้งที่ไม่มีทางเป็นไปได้ครับ แค่คิดก็ผิดแล้ว ราคา SY99 ตอนนั้นอยู่ที่ US$3995 หรือถ้าเทียบเป็น US$ เมื่อปี 2010 ก็คือ US$6300 เหรียญ!!!!! แล้วผมจะซื้อมันได้อย่างไรเล่า? ผมจึงลดเป้าหมายลงมา ขอเพียงได้หยิบยืมใครลองเล่นดูก็น่าจะเพียงพอ แต่โชคก็ไม่เข้าข้างอีก เพราะด้วยราคาระดับนั้น คนอื่นเค้าก็ซื้อกันไม่ได้เช่นกัน555 ในประเทศไทยจึงมี SY99 อยู่น้อยมากๆครับ หลายคนยอมเสียอะไรดีๆหลายๆอย่างที่ SY99 มีไป แล้วไปซื้อ SY77 แทน ซึ่งมันคนละเรื่องกันเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น ROM ที่ต่างกัน, Effect Processor ที่ใช้คนละตัวกัน (ใน SY99 effects ที่ใช้คือ Yamaha SPX1000 2 ตัวครับ!!!), ความสามารถด้าน sampler, sequencer และอะไรอื่นๆอีกมากมาย สิ่งเหล่านี้ทำให้ Yamaha SY99 เป็น synth ที่ผมทั้งไม่มีปัญญาซื้อ และไม่มีปัญญาลองอย่างเต็มรูปแบบเลยครับ ตลอดเกือบยี่สิบปีที่ผ่านมานี้ ผมจึงพยายามมองหา SY99 อยู่ตลอด หวังว่าคงจะมีใครปล่อยออกมาไม่แพงนักหลุดๆออกมาบ้าง แต่ก็ไม่เคยที่จะได้เลยครับ บทจะเจอก็สายไป มีคนโฉบตัดหน้าซื้อไปก่อนทุกที จนกระทั่งเมื่อไม่ถึงเดือนที่ผ่านมานั่นแหละครับ จึงมีโอกาสได้เป็นเจ้าของ synth ตัวนี้จริงๆซะที และช่วงสงกรานต์นี้ก็พอมีเวลาว่างที่จะนั่งหมกมุ่นกับมัน และทำรีวิวอันนี้ออกมาครับ ปกติในการรีวิวทุกครั้ง ผมจะเริ่มจากทางฮาร์ดแวร์ ฟังก์ชั่นต่างๆ และเทคโนโลยี ก่อนจะไปถึงเรื่องเสียง แต่รอบนี้ต้องขอจริงๆครับ ผมอยากจะมาเล่าความรู้สึกของผมกับเสียงของสิ่งๆนี้จริงๆ และสิ่งที่ผมจะเล่านี้ เกิดจากการเล่นเฉพาะเสียง preset เท่านั้นนะครับ ซึ่งแสดงให้เห็นเพียงแค่ 10-20% ของสิ่งๆนี้ที่ทำได้เท่านั้น!  __________________________________________________________________________ เสียง & ฟังก์ชั่น นี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่ผมต้องกลืนน้ำลายตัวเอง ผมบอกอยู่เสมอครับว่าคีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่พัฒนาตาม เทคโนโลยี นั่นก็คือ เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาขึ้น  Engine พัฒนาขึ้น Processor ทำงานได้มากและไวขึ้น Waverom และลื่อจัดเก็บข้อมูลต่างๆมีขนาดใหญ่ขึ้นและถูกลง เสียงของคีย์บอร์ดก็ดีขึ้นไปตามนั้น…โดยทั่วไป sample playback synth ในยุคปัจจุบัน เช่น Motif, Fantom, M3, Triton ฯลฯ ก็เป็นไปตามกฏข้อนี้ “แต่ไม่ใช่สำหรับ SY99 ครับ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมมีมือคีย์บอร์ด โดยเฉพาะในต่างประเทศจำนวนไม่น้อยที่บอกว่า SY99 เป็นหนึ่งใน synth ที่เสียงดีที่สุดในโลกตลอดกาล และไม่ใช่เหมือน DX7 ที่หากคุณไม่ได้อินกับ FM Synthesis แล้ว เสียงที่คุณจะใช้ได้ (ในปี 2010 นี้) คงเหลือไม่ถึง 3 เสียง ซึ่งจะประกอบด้วย EP1, FM Bass และ Organ ส่วนที่เหลือให้นึกภาพเครื่องเล่นเกมส์ Atari ยุคก่อนเครื่อง Famicom เอาไว้ นั่นล่ะครับ เสียงอื่นๆของ DX7 ที่เรียกได้ว่าแก่จนไม่ค่อยมีใครเค้าเอามาใช้ในปัจจุบันแล้ว แต่สำหรับ SY99 มันเป็น Vintage Synth ที่นอกจากจะมีเสียง signature ของมันหลายๆเสียงแล้ว มันยังมีเสียงอคูสติกหลายๆเสียงที่ “มีชีวิต” และทำให้ Motif ES7 ที่อยู่ข้างๆมันในระหว่างการทดสอบ ต้องชิดซ้ายไปไกลๆจนแทบจะตกแสตนด์คีย์บอร์ดเลยทีเดียว…. และสิ่งนี้ มันไม่ใช่ความบังเอิญครับ…. ภายใน SY99 นั้นมี Synth รุ่นใหญ่อยู่ถึงสองเครื่องด้วยกัน นั่นก็คือ AFM และ AWM2 โดยผมจะขอกล่าวถึง AFM ก่อนละกันครับ ซึ่งเพราะสิ่งนี้ล่ะ ทำให้ทุกครั้งที่ผมเดินเข้าสวนสนุกเสียง มันอดไม่ได้ที่จะกดเปิดเจ้า SY99 นี้ แล้วเล่นกับมันเป็นตัวแรก… AFM ก็คือ Advanced FM นั่นเองครับ มันก็คือเทคโนโลยี FM ที่ถูกพัฒนาจนถึงจุดที่สูงที่สุดของ FM จุดที่ FM นำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ซึ่งต่างกับ FM สมัยยังเป็นทารกแบเบาะตอนที่อยู๋ใน DX7 แบบชนิดที่เรียกว่าไม่น่าเชื่อว่าจะห่างกันไม่ถึงสิบปี  เพราะในสมัย DX7 FM เนี่ยยังเป็นอะไรที่เรียกได้ว่ายังเป็นขั้นทดลองกันอยู่เลย และยังใช้งานได้จำกัดมากๆ ก็ลองคิดดูละกันครับ ว่านอกจากเสียง signature ของ FM พวก EP, Bass แล้วก็พวกเสียงแปลกๆ แล้ว มีอะไรที่ FM ในยุคนั้นทำได้อีก.. ส่วนตัวผมยังคิดเลยครับ ว่า Yamaha รีบไปหน่อย กับการเข็น DX7 ลงสู่ตลาดในนาทีนั้นกับ FM ที่ยังแบเบาะเกินไปกว่าที่ควรจะลืมตาขึ้นมาดูโลกด้วยซ้ำ หากใครเคยเล่น DX7 มา คงจะจำ character ของมันได้ดีครับ นั่นก็คือ แห้ง, cold, บาง และ ดิจิตอล…. แต่เชื่อมั้ยครับว่า AFM ใน SY99 นั้น แตกต่างกับ FM ใน DX7 อย่างสิ้นเชิง ผมแปลกใจมากๆที่เสียงที่เป็น AFM ของ SY99 นั้น มันช่างอุ่น warm และ มีชีวิตมากๆ และที่สำคัญ มันก็ทำได้ดีมากๆกับการจำลองพวกเสียงอคูสติก และทำให้เสียงอคูสติกเหล่านั้นมีชีวิตได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยครับ สำหรับ Synth อีกตัวนึงที่อยู่ใน SY99 คือ Synth ที่ใช้ engine เป็น AWM2 ครับ ซึ่งมี Waverom ขนาด 8MB ประกอบด้วย 267 waveforms ตรงนี้ล่ะเป็นอีกหนึ่งจุดที่ทำให้ SY99 ต่างกับ SY77 ด้วย แต่สิ่งที่พิเศษจริงๆก็คือ ไอ้ AFM กับ AWM2 นี้ มันไม่ใช่แค่มา layer หรือ split กันนะครับ…. เอ แล้วมันปฏิสัมพันธ์กันยังงัยอีท่าไหนล่ะ? SY99 มีเทคโนโลยีสุดจะอัจฉริยะที่หัวสมองอย่างผมไม่มีทางคิดได้แน่ๆ นั่นก็คือ RC&M Synthesis หรือ Real-time Convolution & Modulation Synthesis ซึ่งก็คือเทคโนโลยีในการใช้ sampled waveforms ในภาค AWM2 มา modulate ภาค AFM ครับ หรือถ้าจะให้ลึกขึ้นก็คือ นำ sampled waveforms มา modulate operators อะไรก็ได้ของทั้ง 6 operators ในภาค AFM ของ SY99 ครับ ผลลัพธ์ที่ได้จากตรงนี้ก็คือ สิ่งที่ยากที่จะเชื่อหากไม่ได้ลองและได้ยินเองครับ เสียงที่ออกมาจาก SY99 จาก RC&M นั้น ไม่มีทางเลยทีเทคโนโลยี sampling ธรรมดาเหมือน synth ตัวอื่นๆจะทำได้ และด้วยเหตุนี้เองทำให้เสียงของ SY99 นั้นมีชีวิตมาก Musical มาก และเป็นเสี่ยงที่เปี่ยมด้วยเรื่องราว ไม่ใช่เพียงแค่เสียงที่ sampled ธรรมดาอย่างน่าเบื่อครับ และสิ่งนี้ล่ะครับที่ทำให้ SY99 เสียงไม่เหมือนคีย์บอร์ดตัวไหนเลย มี character ที่ชัดเจนมาก มีความสามารถในการโปรแกรมเสียงที่ลึกมาก และแข็งแรงมากๆในส่วนของการจำลองเสียงอคูสติก เสียงของ SY99 และ SY77 มีให้โหลดมากมายเลยในอินเตอร์เน็ตครับ SY99 นั้นสามารถที่จะโหลดเสียงของ SY77 เข้าไปได้ แต่ว่าต้องมีการแก้ไขในส่วนของ effects นิดหน่อย เนื่องจาก SY99 ใช้ effect processor คนละตัวกับ SY77 (SPX-1000 VS SPX-90 ใน SY77) และจำนวน effects ก็แตกต่างกันด้วยครับ อ่อ เกือบจะลืมบอกไปเลย เนื่องจาก SY99 มี AFM Section มันจึงสามารถโหลด patches ของ DX7 มาใช้ได้ด้วยนะครับ __________________________________________________________________________ เอาล่ะ มาเจาะกันเป็นหมวดๆเลยดีกว่าครับ   เปียโน: ถ้าความเหมือน เทียบกับเปียโนยุคปัจจุบันผมให้ 4/10 แต่ความเป็นเปียโน ผมให้ 8.5/10 เลยครับ ลืมเรื่องความเหมือนไปซะ แล้วลองมาฟังคุณค่าของเปียโนในตัวมันเอง มันเป็นเปียโนที่มี Character และมีชีวิตเอาซะมากๆ เด่นใน mix และไม่เลือกเพลงที่จะใช้เหมือนพวก M1 Piano (ที่ 10 เพลงจะใช้เสียงนี้ได้ซัก 1 เพลง) น่าแปลกที่ Yamaha เลือกที่จะใช้ AWM+AFM สำหรับเสียงเปียโนอคูสติก มากกว่าที่จะใช้ AWM ซึ่งน่าจะเหมาะสมสำหรับเสียงเปียโนมากกว่า (ผมอาจจะผิดนะครับ แต่ผมจำได้ว่าเสียงเปียโนอคูสติกใน DX7 ที่เป็น FM เนี่ย มันสุดจะไม่เอาอ่าวเลย เป็นเสียงที่เล่นแล้ว เอานิ้วไปกดปุ่มเปลี่ยนเป็นเสียงอื่นแทบจะไม่ทัน) อย่างไรก็ตาม เรื่องแบบนี้ผลลัพธ์สำคัญกว่าวิธีการ  การที่เอา AFM เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเสียงเปียโนทำเปียโนมันมีชีวิตขึ้นมาได้อย่างบอกไม่ถูก และเป็นเปียโนที่เหมาะมากๆสำหรับการ accomp นักร้อง และใช้ในวง เนื่องจากมันเป็นเปียโนที่โดยรวมแล้วแหลมชัดในสไตล์ Yamaha แต่ในขณะเดียวกันมันก็มีความอุ่นซ่อนอยู่เล็กๆ คล้ายๆเป็นเสียง pad ทีไม่ได้ยินอยู่ข้างหลัง… จริงๆแล้วเนี่ย เปียโนเสียงนี้อยู่ในเพลงยุค 90มานับไม่ถ้วนแล้วครับ โดยเฉพาะเพลงป๊อปและเพลงร็อคยุคนั้น ลองฟังดูแล้วจะร้อง อ๋อ ในทันที สำหรับข้อเสียของ เสียงเปียโนใน SY99 เสียงนี้ก็คือ มันไม่เหมาะเอามาใช้เล่นคนเดียวอยู่บ้านครับ เนื่องจากความสมจริงที่มันสู้เปียโนสมัยนี้ไม่ได้เลย ความหนาของเสียง mid ความสมจริงของเสียง hi และ low ที่ยังไม่มีเหมือนเปียโนปัจจุบัน แต่ก็อย่างว่าครับ ตามพี่ป้อมพี่โต้ะ… ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง จริงมั้ย อิอิ   EP: 10/10 สุด สุด ครับ เมื่อเจ้าพ่อเสียง EP อย่าง Yamaha มาเจอกับ AFM ของแท้และดั้งเดิม ผมก็คงไม่ต้องพูดอะไรต่อ ถึงจำนวนจะมีน้อยไม่เหมือน synth ในยุคปัจจุบัน แต่ที่มีอยู่นี่มีความหมายทุกเสียง อย่าไปหวัง Rhodes emulation จากเครื่องนี้นะครับ เพราะสิ่งที่ “สุด” ของมันก็คือ classic Yamaha EP ใน หลายๆรูปแบบ ตั้งแต่กุ๊งกิ๊งแบบ DX7 จนกระทั่งถึงเสียงพวก hybrid acoustic/dx piano ผมก็ไม่รู้จะอธิบายยังงัย เคยฟังเพลง One moment in time มั้ยครับ เปียโนแบบนั้นล่ะ เสียงนั้นเลย ก็มีให้เลือกใช้ หรือถ้าอยากได้แบบ DX7 เป้ะๆ ก็เพียงแค่เอาเสียง Electric Piano 1 ของ DX7 โหลดเข้าไป ก็จะได้อีกหนึ่งเสียงที่นิยมใช้กันมากที่สุดในยุค 80 ส่วนเสียงที่ออกมานั้น เนื่องจากมันเป็น AFM มันก็จะได้ฟีล EP ของ DX7 เลยครับ นั่นคือเล่นเบาๆก็นุ่มนวล เล่นแรงขึ้นเสียงก็จะแหลมขึ้น กัดออกมา ซึ่งเป็นอะไรที่พวก sample-based synth ทำยังงัยก็ทำไม่ได้ครับ   Organ: 7/10 อยากได้ Rock Organ ดุๆ คงจะไม่มีให้ใช้ หรืออยากได้ B3 Emulation ที่สมจริงก็คงหาไม่ได้จาก preset ของ SY99 ครับ อย่างไรก็ตามด้วยศักยภาพของ Engine ของมัน ผมเห็นมีเสียง organ ดีๆให้โหลดมากมาย หลายๆเสียงนี่ดีกว่า KB3 mode ใน PC2R ของผมซะอีก (แต่ที่ผมให้แค่ 7 เพราะว่าผมพิจารณาจากแค่ preset นะครับ)   Strings: 15/10 ผมไม่ได้พิมพ์ผิด ครับ 15/10 ผมไปโม้ให้เชฟเปาฟังเชฟเปายังไม่เชื่อ มาลองเล่นเอง ถึงกับงง ทำอะไรไม่ถูก เหมือนกับกำลังโดนมนสะกดของน้องปอยอยู่ แล้วบอกผมว่า มันไม่น่าเชื่อ…. ตอนแรก เสียงกลุ่มนี้เป็นเสียงที่ผมหวังน้อยที่สุดเลยนะครับ เพราะผมยังจำเสียง Strings ใน DX7 ที่เป็น FM ได้ดี ขออนุญาตนะครับ แต่ครั้งแรกที่ผมได้ยินสตริงจาก DX7 ผมถึงกับอุทานออกมาดังๆว่า “นี่มัน สตริงหรือ(วะ)เนี่ย” คีย์บอร์ด Angelet ที่ขายกันอยู่หน้าโลตัสเนี่ย ยังมีเสียงสตริงที่ดีกว่าเจ้า DX7 เลย แต่หลังจากที่มีโอกาสได้ลองกับ SY99 บอกได้เลยว่า ทั้งเสียงสตริง ทั้งเสียงออเคสตร้า ถึงแม้จะมีจำนวนไม่เยอะ แต่มันช่างยิ่งใหญ่ อลังการ สมจริง พลิ้วไหว มีชีวิต ชนิดที่เรียกได้ว่า เอา SY99 ตัวเดียวไปสร้างหนังสงคราม Hollywood นี่เผลอๆอยู่เลย (อยู่ที่บ้าน ไม่ได้เอาออกไปใช้นะครับ 555…. ล้อเล่นนะครับ ของมันดีจริงคร้าบบ) ลองเทียบกับ Motif ES7 ที่อยู่ไกล้ๆ ES7 นี่เป็นแมวไปเลย ตรงนี้ก็เป็นเพราะ AFM รวมถึง RC&M นี่ล่ะครับ ที่ทำให้เสียงที่ “มหัศจรรย์” แบบนี้มันเกิดขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตาม ยังเหลือสิ่งหนึ่งที่ผมยังไม่ได้ลองทดสอบนั่นก็คือ background strings หรือพวก strings เอาไว้กดแช่ และพวก analog strings เพราะเสียงเหล่านี้ไม่ได้มี อยู่ใน preset ของ SY99 ไว้ขอหามาโหลดก่อน แล้วจะแจ้งให้ทราบอีกทีนะครับ ตอนที่ทดสอบเนี่ย ก็ดันลืมเสียงนี้ไปเลย เพราะว่าเสียง orchestra ของมันเนี่ย สุดจะบรรยายเลยจริงๆ เล่นไปได้เรื่อยๆจนลืมทุกอย่างเลย ขนาดที่ว่ามีพี่แม่บ้าน มากดออดอยู่หน้าร้าน จะมาทำความสะอาด ผมไม่ได้ยินเสียงกดออดอ่ะครับ เพราะกำลังเพลินกับเสียงสตริงของมันอยู่ แม่บ้านกดออดอยู่จะห้านาทีไม่มีคนเปิด เลยไปซะงั้น ทิ้งให้ผมต้องเก็บกวาดกำจัดแมงสาบคนเดียว 555   BRASS/WIND: 6/10 สำหรับพวก Brass และ 9/10 สำหรับ Sax ครับ เริ่มที่ Brass ก่อนละกันครับ พวก brass section ใน SY99 นี่ ในแง่ของความสมจริง มันทำได้ค่อนข้างดีเลยนะครับ แต่เป็น brass แบบ ตุ่นๆ ใช้อะไรไม่ค่อยได้ในเพลงทั่วไป ซึ่งโดยทั่วไปเราต้องกัน section ที่จี้ดจ้าดซะมากกว่า ทีเด็ดอยู่ที่ sax ครับ เพราะ sax AFM นั้น มันมีชิวิต มีเนื้อ มีหนัง มีมวล พอๆกับ sax VL เลยทีเดียวทำให้เสียง Alto และ Tenor ของ SY99 นั้น ชนะไอ้ตัวแพงๆที่อยู่ข้างๆ (ES7) ไปสบายๆเลย (หรืออาจจะเป็นเพราะว่า เสียง sax ใน ES มันก็ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้วก็ ได้) คือมันไม่ได้เป็น sax ที่ จะหลอกผู้ฟังให้มองหามือ sax ได้หรอกครับ แต่มันเป็น sax ที่ มีความเป็น sax สูง มี character เล่น ได้ง่าย และถ้าเล่นเป็น sax มันก็จะฟังเป็น sax ครับ จริงๆอยากจะให้ 10 ด้วยซ้ำ ติดที่ว่าเสียง Soprano มันก็ยังฟังดูแห้งๆ ธรรมดาๆไปซักหน่อย   GUITARS: 5/10 ก็แค่ฟัง รู้ว่าเป็นกีต้าร์ ธรรมดามากๆครับในหมวดนี้ สู้ synth สมัยใหม่ๆไม่ได้ ครับ   PADS: 9/10 ปกติเสียงจำพวกนี้ มันเป็นธรรมเนียมอยู่แล้วครับที่ Korg จะต้องดีกว่า ด้วยเหตุผลอะไรก็มิอาจทราบได้ เปรียบเสมือนกับว่ารถโตโยต้าจะต้องประหยัดน้ำมันกว่า Mazda แต่ Mazda ต้องช่วง ล่างดีกว่าโตโยต้า ก็คือแลกกันคนละหมัดนั่นแหละครับ แต่สำหรับ SY99 ด้วย AFM และ RC&M อีกแล้ว ทำให้ Pads ของมันแข็งแรงขึ้นมามากๆ และเป็น Pads แบบที่เสียงดีในคนละแบบกับ Korg ด้วยครับ Korg อาจจะมีเสียง Pads ที่ airy ฟุ้ง และลึกกว่า แต่เสียง pads ใน SY99 เป็น Pads ที่มีเนื้อมีหนัง เปี่ยมไปด้วยชีวิตและ Character เสียงอาจจะไม่อวกาศเหมือนของ Korg แต่ สิ่งที่ได้กลับมาก็คือน้ำหนักของ Pads จาก AFM และ RC&M แบบที่ผมไม่เคยได้ยินมาก่อนใน synth ไหนๆครับ   Synth Solo: 10/10 ไม่ต้องคิดมาก เลยครับ เสียงน้อยจริง แต่ทุกเสียงมีสาระ แม้กระทั่งเสียงธรรมดาๆอย่างพวก saw และ sine ก็ยัง ดุ หนา แน่น มี character จาก AFM ซึ่งต่างกับ solo แมวขู่ของตัวที่อยู่ข้างๆได้อย่างชัดเจน และด้วย mod wheels ที่มีให้ 2 อันกับ bender อีกอันนึง ทำให้การเล่นหลายๆเสียงสนุกขึ้นอีกจมเลยครับ __________________________________________________________________________ สรุป นี่เชฟกำลังบอกว่า OASYS ยังสู้มันไม่ได้? ป่าวครับ… SY99 มันไม่ใช่ มาม่า ยำยำ หรือไวไว เหมือนพวก Motif, Fantom, Triton หรือ M3 ที่เป็น preset machine มีของสำเร็จรูปทุกอย่างกองอยู่ตรงหน้าพร้อมใช้ สิ่งที่ SY99 ให้คือ วัตถุดิบในการปรุงอาหารชั้นดีเลิศ อร่อยแน่ถ้าเราจะเข้าครัวไปปรุง แต่หากสิ่งที่ต้องการคือ เติมน้ำร้อน เข้าไมโครเวฟ SY99 ไม่ใช่แบบนั้นครับ SY99 เป็น Synthesizer ที่เป็นซินธ์จริงๆ ซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน มี Engine ที่ลึก เป็นเอกลักษณ์ และยอดเยี่ยม มีศักยภาพที่มหาศาลที่จะสร้างสรรค์อะไรต่อมิอะไรได้มากมาย SY99 เหมาะสำหรับคนที่อยากจะศึกษารู้จัก กับมันจริงๆ จะเอามาเป็นคู่ชีวิต ไม่ใช่ประเภท One Night Stand และ SY99 ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่เทิดทูนความเหมือน ฟูลสต๊อป หยุดอยู่ตรงนั้น เพราะ SY99 ไม่ได้มี waverom ขนาดมหึมาหลายร้อยเม็กเหมือน Synth ในยุคปัจจุบัน แต่ SY99 มีเสียงที่สุดจะ Playable และตอบสนองกับการเล่นได้อย่างดีเยี่ยม SY99 เป็น Synth ที่ ออกมาตั้งแต่ปี 1991 แล้ว ฉะนั้นมันจึงมีอะไรหลายๆอย่างที่แสดงถึงอายุของมัน เช่น Polyphony ที่มีเพียงแค่ 32 (16 AFM+16 AWM), FDD ที่เป็น DD ไม่ใช่ HD, Waverom ที่มีขนาดเพียง 8MB, จำนวน Preset ที่มีค่อนข้างน้อยหากเทียบกับมาตรฐานสมัยนี้ นี่ถ้าไม่ติดว่าเงินที่มาลงทุนตรงนี้ไม่ ใช่เงินของผมเอง ผมจะไม่มีวันขายเจ้า SY99 ตัวนี้แน่ๆครับ ผมโชคดีที่ได้คลุกคลีอยู่ในวงการนี้ ได้ผ่านซินท์มาแทบจะทุกรุ่น ทั้งเก่าและใหม่ แต่มันจะมีไม่กี่ตัวหรอกครับที่ผมจะเลือกเก็บไว้  และแน่นอนที่สุด SY99 จะเป็นอีกตัวหนึ่งที่ผมจะต้องเก็บไว้ ถ้าหากให้ผมเลือกเก็บ Synth ที่ออกภายในปี 1980 – 1995 ได้เพียงตัวเดียว คำตอบก็จะยังเป็น SY99 เหมือนเดิมครับ ผมจะยอมละทิ้ง Synth ระดับตำนานในยุคนั้นทั้งหมด เช่น DX7 M1 D50 D70 O1 แล้วเลือก SY99 อย่างทันทีทันใดโดยไม่ต้องไปรบกวนสมองให้ต้องคิดเลยครับ ท้ายสุดนี้ โปรดอ่านรีวิวนี้ด้วยความระมัดระวัง อย่าเชื่อผมมาก มิฉะนั้น ท่านอาจเสียตังค์ได้ 555 __________________________________________________________________________ SPECIFICATIONS   Tone Generator/ Realtime Convolution and Modulation (RCM) Tone Generator/ AWM2 16 bit linear waveform data maximum 48 kHz sampling frequency Tone Generator/ AFM 6 operators, 45 algorithms, 3 feedback loops, 16 waveforms, modulation from AWM output Tone Generator/ Filter Time variant IIR (infinite impulse response) digital filters, 2 filters for each element (maximum of 8 filters per voice) Tone Generator/ Maximum simultaneous notes 16 (Voice mode), 32 (Multi mode) Maximum simultaneous timbres 1 (Voice mode), 16 (Multi-mode) Note Assignment Last note priority, DVA (dynamic voice allocation) Keyboard 76 notes, key velocity sensitivity, channel aftertouch (with zoned aftertouch) DSP effects 2 units, 63 effect types Sequencer/ Tracks 16 (15 tracks + 1 pattern track) Sequencer/ Songs 10 Sequencer/ Resolution 1/96 of a quarter note (for internal clock), 1/24 of a quarter note (for MIDI sync) Sequencer/ Maximum simultaneous notes 32 Sequencer/ Capacity Approximately 27,000 notes Sequencer/ Patterns 99 Sequencer/ Recording Realtime/ step/ punch in Preset memory 128 voices, 16 multis Internal memory 64 voices, 16 multis Waveform memory 4 Mwords (8 Mbytes), 267 sounds MDR/ sample memory 512 kbytes (expandable to 3 Mbytes) Card Slots synthesizer data x 1, waveform data x 1 Disk 3.5" floppy disk drive (720 kbyte formatted) Wheels Pitch, Modulation 1, Modulation 2 Slider Output 1, Output 2, Data Entry Knobs LCD contrast, Click volume Dial data entry dial Panel Switches Mode X 5, Edit/ Compare, Copy/Save, EF.Bypass, Sequencer X 7, Shift, function x 8, Exit, Page (Left/Right Arrow), Jump/Mark, cursor (Up/Down Arrow) (Left/Right Arrow), -1/No, +1/ Yes, numeric keypad 0-9, Enter, -, Memory X 4, Bank X 4, voice select x 16 Display/LCD 240 x 64 pixels (with backlight) LED red x 11, red/green x 21 Terminals/ Audio output Output 1 (L/1 + 2/ Mono, R/1+2), Output 2 (L,R), Phones Terminals/ Controller Breath, Foot Volume, Foot Controller, Sustain, Foot Switch Terminals/ MIDI In, Out, Thru Power Requirements US and Canadian models: 120 V General model: 220-240 V Power Consumption US and Canadian model: 35W General model: 35 W Dimensions 1254 (W) x 407 (D) x 120 (H) mm (4'1-3/8" x 1'4" x 4-3/8") Weight 19.6 kg (43 lbs 3 oz)   


   
 


ราคา: 20,000 บาทต้องการ: ขาย
ติดต่อ: บอล_บางนาอีเมล์: 
สภาพ: มือสอง สภาพ 90% จังหวัด: กรุงเทพมหานคร
โทรศัพย์: 087-5625786IP Address: 172.26.41.75, 172.21.2.2, 203.155.74.xx
มือถือ: -
ที่อยู่: สุขุมวิท105

คำค้น:  คีย์บอร์ด รุ่นท๊อป | จอไฟ sy99 | led yamaha sy77 | sy77 lcd display | ขนาด yamaha motif 6 | ขายคีย์บอร์ด | yamaha sy99 | yamaha sy 77 | ดูคีย์บอร์ดรุ่นsy77 | sy99 ดนตรี |



ดูสินค้าอื่นๆ | ลงประกาศ | เลื่อนประกาศขึ้น | ลบประกาศ | แก้ไขประกาศ

[ รับจำนอง ขายฝาก บ้าน ที่ดิน ทั่วประเทศ กู้เงินง่าย ได้เงินไว ไม่เช็คแบล็คลิส ]